1. Aspartame สารให้ความหวานแทนน้ําตาล (ขนาด 25 กิโลกรัม)
แอสปาร์แตม Aspartame เป็นสารให้ความหวานแทนน้ําตาล (จัดเป็นวัตถุเจือปนอาหารชนิดหนึ่ง) ซึ่งไม่ให้พลังงาน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aspartyl-Phenylalanine-1-Methyl Ester ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือกรดอะมิโน 2 ตัวต่อกันได้แก่ กรดแอสปาร์ติก และ ฟีนิลอะลานีน แอสปาร์แตมมีความหวานกว่าน้ําตาลซูโครส (น้ําตาลทราย) ประมาณ 200 เท่า ในปัจจุบันผลิตออกจําหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในยี่ห้อสินค้าต่าง ๆ แอสปาร์แตมเป็นส่วนประกอบในอาหารสําเร็จรูปและเครื่องดื่มกว่า 5000 ชนิด ที่วางขายทั่วโลก โดยทั่วไปเราจะใช้แอสปาร์แตมผสมเครื่องดื่ม หรือทําอาหารให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ใช้เป็นสารให้รสหวานในอาหาร น้ําอัดลม เครื่องดื่ม อาหารแห้ง กาแฟผสมไอศกรีม เยลลี่ และขนมหวานต่างๆ สารนี้ให้พลังงานต่ําในอาหารสําหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรืออาหารสําหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ําหนัก ความหวาน (Sweetness) แอสพาร์แตมให้ความหวานมากกว่าน้ําตาลซูโครส (Sucrose) ประมาณ 180-200 เท่า (ดู Relative Sweetness ของแอสพาร์แตม กับสารให้ความหวานชนิดอื่นๆ แอสพาร์แตมเป็นเพปไทด์ที่ให้พลังงาน 4 แคลอรี่/กรัม แต่เนื่องจากแอสพาร์แตมจะให้รสหวานกว่าที่ความเข้มข้นต่ํา และที่อุณหภูมิห้องจะให้รสหวานมากกว่าที่อุณหภูมิต่ํา การที่มีความหวานมากจึงใช้ในปริมาณน้อยมาก จึงให้พลังงานน้อยมาก ความสามารถในการละลาย (Solubility) การละลายของแอสพาร์แตมขึ้นอยู่กับค่า pH และอุณหภูมิ ซึ่งค่า pH ที่ละลายได้ดีที่สุด คือค่า pH 2.2 และละลายได้น้อยที่สุดคือที่ค่า pH 5.2 ซึ่งเป็นจุด Isoelectric Point ของสารละลาย สําหรับประโยชน์ของแอสปาร์แตมพอสรุปได้ดังนี้ - ใช้ปรุงแต่งรสชาติอาหารสําหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ติดรสหวาน - ใช้บริโภคแทนน้ําตาลในช่วงภาวะที่ต้องคุมน้ําหนักตัว - ลดปัญหาเรื่องฟันผุด้วยมีการใช้ในปริมาณต่ําก็สามารถปรุงความหวานได้เทียบเท่ากับน้ําตาล ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าการใช้แอสปาร์แตมสามารถส่งผลเสียต่อผู้บริโภคอย่างไรบ้าง ดังนั้นขนาดการใช้แอสปาร์แตมจึงต้องเป็นไปตามเอกสารกํากับยา/เอกสารกํากับผลิตภัณฑ์หรือตามคําสั่งแพทย์ NoBrand